จุฬาฯ เดินหน้าทดลอง วัคซีนใบยาสูบ เชื่อป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้

จุฬาฯ เดินหน้าทดลอง วัคซีนใบยาสูบ เชื่อป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าทดลอง วัคซีนใบยาสูบ เตรียมเริ่มทดลองเฟสหนึ่งในช่วงเดือนกันยายนนี้ เชื่อป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช เพื่อผลิตวัคซีนโควิด 19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ ก.พ.2563 ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี

นายอนุทินกล่าวว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ก.พ.63 

ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี แต่เนื่องจากยังไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนด้วยพืชในประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงสนับสนุนงบประมาณ 160 ล้านบาท ให้แก่จุฬาฯและบริษัทใบยาในการปรับปรุงพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุโดยใช้พืช ใช้เวลา 8 เดือนในการปรับปรุงบนพื้นที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ขนาด 1,200 ตารางเมตร ผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียพาหะสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส ปลูกถ่ายลงในใบยาสูบ เพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน และเก็บเกี่ยวเพื่อสกัดโปรตีนสำหรับใช้ผลิตวัคซีน ก่อนนำส่งไปทำวัคซีนให้บริสุทธิ์ ที่บริษัท คินเจ่น ไบโอเทค จำกัด จากนั้นผสมและแบ่งบรรจุวัคซีนที่สถานเสาวภาต่อไป

ทั้งนี้ วัคซีนจุฬา-ใบยาจะเริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ เฟสที่ 1 ช่วงต้นเดือนก.ย. เบื้องต้นประมาณ 100 คน ในขนาดโดส 10 ไมโครกรัม 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าในไตรมาส 3 ของปี 65 สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 ฝีมือคนไทยในประเทศเองได้มาก 1-5 ล้านโดสต่อเดือน หรือราว 60 ล้านโดสต่อปี

“วันนี้ได้มาให้กำลังใจทีมไทยแลนด์ ซึ่งเป็นการวิจัยพัฒนาวัคซีนสัญชาติไทยโดยบริษัทของคนไทย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนในทุกด้าน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จโดยเร็ว เพราะถือเป็นนวัตกรรม องค์ความรู้ และเกิดประโยชน์ต่อประเทศ ที่สำคัญคือวัคซีนนี้สามารถปรับปรุงรองรับสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ทันที ขณะนี้กำลังดำเนินการใน 10 สายพันธุ์ หากสำเร็จ อนาคตอาจจะเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สามารถใส่หลายสายพันธุ์ลงไปในวัคซีนได้ ทำให้การป้องกันก็น่าจะสูงขึ้น” นายอนุทินกล่าว

กรณีศึกษา: ไฟป่าในออสเตรเลียโดย แบรนด์วอทช์ (Brandwatch)

ก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสทั่วโลกในปี 2563 นั้น หลายชีวิตในออสเตรเลียได้เผชิญกับอันตรายร้ายแรงมาแล้ว โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 ถึงมีนาคม 2563 ไฟป่าในออสเตรเลียได้ลุกลามเผาไหม้พื้นที่ 13.6 ล้านเอเคอร์ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และได้ทำลายล้างสัตว์ป่าและระบบนิเวศวิทยาของภูมิภาค (NYT, 2020)

แบรนด์วอทช์ ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของทวิตเตอร์ได้วิเคราะห์บทสนทนาบนทวิตเตอร์ในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ซึ่งมีผู้คนกว่า 2.8 ล้านคนทั่วโลกมีส่วนร่วมในบทสนทนานี้และมีเกือบ 10 ล้านทวีตสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับไฟป่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 – มีนาคม 2563

ผู้คนบนทวิตเตอร์ได้เชื่อมต่อถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีการระดมทุนต่างๆ เกิดขึ้น เช่น การประมูล #AuthorsForFireys และการเคลื่อนไหวในแคมเปญ “Find a Bed” เพื่อค้นหาที่พักฉุกเฉินสำหรับผู้ที่พลัดถิ่นจากไฟป่า ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากเริ่มโครงการ Find A Bed ทำให้มีรายชื่อที่พัก เพิ่มขึ้น 7,000 แห่ง และรองรับให้ความช่วยเหลือผู้คนได้กว่า 100 คน ซึ่งรวมถึงกรณีคุณยายวัย 104 ปี ที่ต้องสูญเสียบ้านของเธอไปในกองเพลิงด้วย

กรณีศึกษา: พายุไต้ฝุ่นฮากิบิส ในปี 2562 ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นฮากิบิส ซึ่งทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนสูง ถึง 3 ฟุตภายใน 24 ชั่วโมงในบางภูมิภาคของประเทศ มีการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และมีผู้เสียชีวิต 74 ราย (อ้างอิงจาก NHK, 2019) ฝนที่ตกอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นทำให้แม่น้ำมากกว่า 20 สายในญี่ปุ่นเอ่อล้นอย่างรวดเร็ว และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ถูกเร่งให้ต้องอพยพโดยด่วนออกจากบ้านของตนเองเพื่อหนีขึ้นที่สูง

พันธมิตรของทวิตเตอร์ได้ทำการวิเคราะห์เพื่อตรวจหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟฟ้าดับ และภัยพิบัติอื่นๆ โดยมีสำนักข่าว JX Press ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักช่วยแจ้งเตือนภัยอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการรายงานข่าวที่รวดเร็วกว่าการรายงานข่าวโดยปกติเฉลี่ย 20 ถึง 45 นาที ทั้งนี้ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลของทวิตเตอร์ทำให้รัฐบาลสามารถรับฟังและประกาศข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับไปพร้อมกัน

โดยยาสมุนไพรแพทย์แผนจีนทั้ง 3 ชนิดนี้รวมกันเป็นตำรับ”ยวี่ผิงเฟิงซ่าน” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีใช้มาอย่างยาวนาน โดยเป็นยาที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นระบบย่อยอาหารบำรุงปอด และม้าม มีฤทธิ์ขับพิษอ่อนๆ ส่วนยาเพื่อการรักษาควรจัดโดยแพทย์แผนจีนเท่านั้น ไม่ควรหามารับประทานเอง

แพทย์แผนจีน ธนัตเทพ เตระทวีดุลย์ ได้กล่าวให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการใช้ยาสมุนไพรแพทย์แผนจีน ควบคู่กับยาสมุนไพรแพทย์แผนไทยว่าสามารถทำได้ โดยยาสมุนไพรบางชนิดที่ใช้ทั้งในแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนไทยก็มี เช่นดอกคำฝอย (หงฮวา) ชะเอมเทศ (กำเช่า) โกฐเชียง (ตังกุยเหว่ย) ฯลฯ

ส่วนยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมกันก็มี เช่น ยาสมุนไพรแพทย์แผนจีน “เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ซึ่งที่มีฤทธิ์เย็นใช้รักษาโรค COVID-19 หากรับประทานร่วมกับยาสมุนไพรแพทย์แผนไทย “ฟ้าทะลายโจร”

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป